รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
วันที่โพสต์: Jun 15, 2019 8:53:6 AM
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
ผู้รายงาน : วรรณภา ทิพโชติ
ปีการศึกษาที่ทดลอง : ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การรายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีวัตถุประสงค์
๑. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ประเมินความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ม.๖โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓ คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบการสื่อความของภาษาและความเหมาะสมของเนื้อหาที่ใช้ในแบบฝึก นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๙ คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แล้วนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน เพื่อหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า E1/E2
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test dependent)
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ กับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๓ โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๓๐ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยใช้กรอบแนวคิดในการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลลัพธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1. แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมีประสิทธิภาพ ๘๔.๘๑/๘๔.๗๘
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์๑๑ โดยแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์จากประเพณีในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ อยู่ในระดับมาก